- รศ. ดร.ขนิษฐา นันทบุตร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน
- นางสาวภาวดี ใจเอื้อ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
- รศ. ดร.สุดสวาสดิ์ ดวงศรีไสย์ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบ ววน. ด้านการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์
รศ. ดร.ขนิษฐา นันทบุตร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน ให้ข้อมูลว่า ระบบข้อมูลชุมชน สสส.ร่วมกับเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ศูนย์สนับสนุนวิชาการ ทั้ง 4 ภาค เป็นกลไกขับเคลื่อนงานส่วนหนึ่งของแผนสุขภาวะชุมชนของ สสส. จุดมุ่งหมายของการพัฒนาชุดข้อมูลตำบล เป็นเครื่องมือที่ทำให้การเสริมศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นเกิดขึ้นได้ในระดับพื้นที่
แนวทางการทำงานของแผนสุขภาวะชุมชน มี 3 องค์ประกอบ คือ 1.เสริมศักยภาพชุมชนท้องถิ่นให้สามารถจัดการตนเองได้ 2.ส่งเสริมให้ชุมชนท้องถิ่นพัฒนานวัตกรรมการแก้ปัญหาของท้องถิ่นเอง และ 3. องค์กรหลักในพื้นที่โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) หน่วยงานภาครัฐ องค์กรชุมชน ภาคเอกชนในพื้นที่ สามารถนำนวัตกรรมหรือแนวทางการแก้ปัญหาในพื้นที่บรรจุเป็นส่วนหนึ่งของงานประจำของตัวเอง
สสส. และภาคีเครือข่าย ใช้เครื่องมือระบบข้อมูลตำบล (TCNAP) และการวิจัยชุมชน (RECAP) โดยจะเน้นเรื่องข้อมูลตำบล ซึ่งหลักการสำคัญของการพัฒนาระบบข้อมูลตำบล ยึดหลัก 3 สร้าง ได้แก่ 1.สร้างการมีส่วนร่วม 2.สร้างการเรียนรู้ และ3.สร้างการเปลี่ยนแปลง เพื่อทำให้ชุมชนท้องถิ่นมีศักยภาพในการทำข้อมูลเอง
อันดับแรกคือ สร้างการมีส่วนร่วม ทำอย่างไรให้องค์กรหลักในพื้นที่รวมตัวกันและมีส่วนร่วมในกระบวนการของการพัฒนาระบบข้อมูล 2.สร้างการเรียนรู้ โดยกระบวนการพัฒนาระบบข้อมูล เริ่มจากการเก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล การใช้ประโยชน์ของข้อมูล เปิดโอกาสให้ชุมชนเป็นเจ้าของข้อมูล 3.สร้างการเปลี่ยนแปลง เมื่อเรียนรู้ข้อมูลในกระบวนการทั้งหมดแล้ว ข้อมูลจะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการทำงานของพื้นที่ และการตัดสินใจขององค์กรหลักในพื้นที่
ระบบข้อมูลตำบลมีข้อมูล 2 ส่วนที่ชุมชนท้องถิ่นต้องใช้ คือ 1.ข้อมูลเชิงคุณภาพ ซึ่งทำให้เห็นภาพทุนทางสังคม คนสำคัญ คนเก่ง หน่วยองค์กรที่ช่วยขับเคลื่อนการทำงานในเชิงพื้นที่ได้ ผลของการทำงานของ RECAP จะทำให้เห็นแผนที่ศักยภาพของชุมชนท้องถิ่น คือ บอกได้ว่าอะไรอยู่ตรงไหน จะใช้ในการแก้ปัญหาได้อย่างไร 2.ข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นข้อมูลที่บอกสถานะปัญหาของพื้นที่ และสามารถชี้เป้าหมายที่ได้รับผลกระทบจากปัญหา หรือบ่อเกิดปัญหา เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ต้องได้รับการดูแลแก้ไข ซึ่งมีองค์ประกอบข้อมูลหลายด้าน เช่น ข้อมูลพื้นฐานของประชากรทั้งหมด สุขภาพ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และการสื่อสารการมีส่วนร่วมของชุมชน
ข้อมูลตำบลมี 2 ระดับ คือ ข้อมูลบุคคล ครอบครัว 2 ระดับกลุ่มองค์กร และชุมชน ซึ่งทั้งสองส่วนจ้องสอดคล้องและตรวจสอบข้อมูลได้ ทั้งนี้หลังจากมีการพัฒนาระบบข้อมูลตำบลอย่างต่อเนื่องกว่า 10 ปี ช่วง 5 ปี มีผ่านมาจึงได้มีข้อสรุป 10 ปัญหาพื้นฐานของชุมชนท้องถิ่น และเจาะลึกในบางประเด็นที่พื้นที่หรือชุมชนสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาเฉพาะประเด็นเช่น สุขภาวะเด็ก ผู้สูงอายุ อาหารชุมชน
การพัฒนาข้อมูลตำบล ทำงาน 2 ส่วน คือ 1.พื้นที่ปฏิบัติการ มีเครือข่ายทำงาน 3,000 กว่าแห่ง มีข้อมูลที่ยังเคลื่อนไหว 2,000 กว่าแห่ง มีข้อมูลประชากรรวมกว่า 11 ล้านคน 8 ล้าน ครัวเรือน การสนับสนุนของสสส. มีตั้งแต่เริ่มเก็บข้อมูล วิเคราะห์ การใช้ประโยชน์ และการจัดการความรู้ โดยมีเครือข่ายกระจายทั่วประเทศจาก 7,000 กว่าอปท. สสส. มีพื้นที่เครือข่าย 45% และ 2.พื้นที่ที่มีประสบการณ์ในการจัดทำข้อมูล และ อปท.ที่มีความพร้อมในการที่ฝึกอบรมให้เพื่อน 27 อปท.
ด้านการใช้ประโยชน์จากข้อมูล ชุมชนท้องถิ่นสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ได้ในทันที หรือ นำข้อมูลการเรียนรู้จัดทำแผนชุมชน และนวัตกรรม ในระดับเครือข่าย และในระดับประเทศ ก็เช่นเดียวกัน สามารถออกแบบรายงานและให้ข้อมูลภาพรวมในพื้นที่ได้ รวมถึงการขับเคลื่อนงานแก้ปัญหาพื้นฐานของชุมชน
#เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่
#สสส
#ชุมชนเข้มแข็ง
#ชุมชนท้องถิ่น รู้รับปรับตัว