pin up

ดร.ประกาศิต กายะสิทธิ์ รองผู้จัดการ สสส. ให้ข้อมูลว่า การใช้ข้อมูลงานวิจัยและสนับสนุนงานเชิงกลยุทธ์ของ สสส. แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ การจัดทำแผน การออกแบบการทำงาน การบริหารความเสี่ยง ซึ่งมีการนำข้อมูลไปใช้ 3 ด้าน 1.ขับเคลื่อนสังคมในเชิงนโยบายหรือเชิงปฏิบัติในพื้นที่ 2.การบริหารองค์กรอย่างคล่องตัว และมีประสิทธิภาพ เป็นการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจ 3.การบริหารทรัพยากร หรือการบริหารกองทุน เพื่อสนับสนุนการจัดการภาครัฐแนวใหม่ (New Public Management-NPM) ดังนั้น จึงมีการใช้ข้อมูลหลายระดับ จากฐานข้อมูลเดียวกัน

 การใช้ข้อมูลเพื่อการบริหารแผนขับเคลื่อนสังคม มีการกำหนดเป้าหมาย และยุทธศาสตร์ระยะ 10 ปี การกำหนดกรอบและทิศทางของแผนหลัก ระยะกลาง 5 ปี และแผนการการดำเนินงานประจำปี ที่มีการกระจายทรัพยากรไปยังแผนการดำเนินงานทั้ง 15 แผน ซึ่งมีแผนงานเชิงประเด็น เชิงพื้นที่ และการพัฒนาระบบและกลไกการสนับสนุนเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ

การศึกษาแนวโน้มทิศทางหรือเป้าหมาย สำหรับยุทธศาสตร์ 10 ปี ของ สสส. ที่ส่งผลกระทบกับสุขภาพของคนไทย โดยเจาะลึกในระดับประเทศ พื้นที่ ชุมชน บุคคล สู่การพัฒนาให้ตรงกับพันธกิจของสสส. โดยมีข้อมูลมาจากหลายแหล่ง เช่น Thai Health Watch ที่เป็นข้อมูลมาจากการวิเคราะห์ของ สสส. ซึ่งจัดทำเป็นประจำทุกปี เพื่อจับกระแสโลกสังคมออนไลน์

การทำงานต่อเนื่องเกิด “ห่วงโซ่ผลลัพธ์” (Chain of Outcome: CoO) คือ การดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย การมีสุขภาพดี 4 มิติ ต้องมองย้อนกลับว่า อะไรเป็นตัวกำหนดสุขภาพ ปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อตัวกำหนดนั้น และมาตรการในการสร้างเสริมสุขภาพใดที่ต้องขับเคลื่อนให้เกิดขึ้น เพราะการดูผลลัพธ์ที่ปลายทางอย่างเดียว บอกได้ยากว่า เกิดจากการทำงานของสสส.และภาคีเครือข่าย หรือเป็นภาพรวมการทำงานของทั้งประเทศ ดังนั้น ข้อมูลที่ใช้จะไม่ใช่เชิงสถานการณ์สุขภาพอย่างเดียว แต่เป็นข้อมูลวิถีชีวิตพฤติกรรมของบุคคล และสภาพแวดล้อมทางสังคมและกายภาพ

ปัจจัยหลักๆ มีส่งผลต่อตัวกำหนดสุขภาพ มี 4 ข้อ คือ 1.ระบบบริการสร้างเสริมสุขภาพ 2.นโยบายสาธารณะ 3. ศักยภาพและแนวปฏิบัติของชุมชนองค์กร 4.ทักษะและความรู้ที่เท่าทันกับสถานการณ์ของกลุ่มเป้าหมาย เกิดเป็นมาตรการในการสร้างเสริมสุขภาพ โดย สสส. สนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม งานวิชาการและความรู้ พัฒนาศักยภาพของบุคคล ชุมชน และองค์กร สร้างเสริมพลังองค์กรและภาคีเครือข่าย พัฒนาขับเคลื่อนกลไกนโยบาย สื่อสารรณรงค์ และชี้นำสังคม ท้ายที่สุดคือสุขภาพของคนไทย หรือสุขภาพสังคมเปลี่ยนไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่

ข้อมูลที่ใ

ช้ในการบริหารองค์กร การบริหารภายใน เป็นข้อมูลในการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานของกองทุน ซึ่งมีทั้งแผนการการดำเนินงานประจำ 1 ปี แผนระยะกลาง 5 ปี แผนยุทธศาสตร์ระยะ 10 ปี และแผนภาพรวม 20 ปี โดยเป็นการใช้ข้อมูลในการประเมินในระดับต่างๆ โดยมี Framework เป็นกรอบในการทำงาน สุดท้ายความสำเร็จหรือความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น มีความคุ้มค่า (SROI) ของการทำงานต่อสังคมอย่างไร เป็นข้อมูลที่ต้องเตรียมตั้งแต่ต้น ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถวัดค่าของการเปลี่ยนแปลงได้

มีการถอดรหัสของห่วงโซ่ผลลัพธ์ ดัชนีที่กำกับด้านการเปลี่ยนแปลง ซึ่งดำเนินการร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล จากเป้าหมายยุทธศาสตร์ระยะ 10 ปี ของสสส. ทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ 1.ยาสูบ 2.แอลกอฮอล์และยาเสพติด 3.อาหาร 4.กิจกรรมทางกาย 5.ความปลอดภัยทางถนน 6.สุขภาพจิต 7.มลพิษจากสิ่งแวดล้อม

การบริหารงบประมาณ (บริการกองทุน) เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างเหมาะสม ซึ่ง สสส. เป็นองค์กรที่ได้รับงบประมาณจากภาษียาสูบและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งบประมาณแต่ละปีเกิดจากการประมาณการ โดยมีกรอบนโยบายทางด้านการเงินที่ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการกองทุน สสส. โดยต้องรักษาปริมาณเงินทุนให้มีสภาพคล่องและเพียงพอต่อภาระผูกพัน กระจายไปยัง 15 แผน การบริหารเงินทุนสำรอง เพื่อรองรับความผันผวนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การบริหารจัดการเงินผูกพันโครงการต่างๆ ที่ส่วนใหญ่ไม่ได้จบภายใน 1 ปี ในแต่ละปีมีการดำเนินโครงการ 3,000-5,000 โครงการ ดังนั้น เรามีการจัดการข้อมูลมหาศาลในการทำงาน

ปัจจุบันมีการนำระบบดิจิทัลมาใช้ในการทำงานมากขึ้น ทั้ง e-budget E-Granting หรือการบริหารโครงการออนไลน์ จะช่วยคำนวณ จัดสรร กระจายงบประมาณ และมีการปรับเปลี่ยนข้อมูลตามสภาวะจริงตลอดการดำเนินงาน ยกตัวอย่าง การบูรณาการทำงานในพื้นที่ข้อมูลสุขภาวะในชุมชนและอุบัติเหตุ เมื่อนำฐานข้อมูลทั้งสองส่วนมาบูรณาการ ทำงานในพื้นที่จริง สามารถลดอุบัติเหตุในชุมชนจุดเสี่ยงต่างๆ 200 จุด

ข้อมูลที่ใช้ประโยชน์ในการบริหารความเสี่ยง ในการทำงานตามแผนการดำเนินการทั้งหมดที่วางไว้จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับระหว่างในการบริหารจัดการความเสี่ยง โดยมีเจ้าหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ เปรียบเทียบกับแผนการทำงาน จัดทำแผนบริหารความเสี่ยง เพื่อลดทอนโอกาสที่จะเกิดความเสี่ยงหรือผลกระทบที่จะตามมา

 

#เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่

#สสส

#ชุมชนเข้มแข็ง

#ชุมชนท้องถิ่น รู้รับปรับตัว